คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 16


วันนี้อาจารย์ให้เขียนวิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย ข้อจำกัดที่เกี่ยวกับของการใช้  Tablet สำหรับเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยให้เวลาในการเขียน 20 นาที และให้นักศึกษาส่งงานที่ยังไม่ได้ส่งและให้นักศึกษาลิงค์ Blogger ของอาจารย์   และอาจารย์ได้ปิดคอร์สการเรียนการสอน















วันอังคารที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2555

งานวิจัยเกี่ยวกับภาษาของเด็กปฐมวัย

ผลของการจัดกิจกรรมการเล่านิทานด้วยเทคนิคการสร้างหนังสือเล่มใหญ่ตามแนวการพัฒนาภาษาแบบธรรมชาติที่ส่งผลต่อความสนใจในการอ่านและการเขียนของเด็กปฐมวัย

การพัฒนาความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัยที่ทำกิจกรรมศิลปะด้วยนิ้วมือ

การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน สำหรับเด็กปฐมวัย ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส)

การศึกษาความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัยที่ใช้นิทานพื้นบ้านเป็นสื่อเสริมประสบการณ์

การสร้างสื่อประสมคำคล้องจอง 2 ภาษาประกอบภาพ สำหรับเด็กปฐมวัยชนเผ่าอาข่า

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 15


อาจารย์บอกถึงวิธีการเรียนการสอนนั้นมีหลากหลายแบบซึ่งทุกวิธีสามารถที่จะบรูณาการเข้าด้วยกันได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสารสนเทศ เทคโนโลยี จิตวิทยา เป็นต้น อาจารย์ยังพูดถึงหลักการว่าประกอบไปด้วย วัตถุประสงค์ ซึ่งต้องกำหนดก่อนเป็นอันดับแรกว่าต้องการทำอะไร เพื่ออะไร ก่อนจะไปขั้นวิเคราะห์ เมื่อเสร็จขั้นนี้ก็จะบอกถึงข้อดี ข้อเสีย แล้วนำเสนอ และสุดท้ายนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวัน ในท้ายช่วงโมงอาจารย์ได้ให้ทำแบบประเมินและลิงค์ Blogger ของนักศึกษาให้อาจารย์




งานที่ได้รับมอบหมาย
ให้ทำลิงค์ให้ครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน

สรุปจากการดูโทรทัศน์ครู เรื่อง ภาษาธรรมชาติ Whole Language ดร.วรนาท รักสกุลไทย อ.อภิชนา สุ้ยเสริมสิน รร.เกษมพิทยา และ ดร.ภัทรดรา พันธุ์สีดา รร.อนุบาลวัดนางนอง




สรุป
การสอนภาษาแบบธรรมชาติเป็นนวัตกรรมเชิงปรัชญา ดังนั้นการนำไปใช้จึงต้องเริ่มต้นจากระบบความเชื่อ ความศรัทธา และเจตคติที่ถูกต้อง ซึ่งจากประสบการณ์ของผู้เขียนพบว่า การปรับเปลี่ยนไม่สามารถทำได้รวดเร็ว โดยเฉพาะหากผู้ใช้ขาดความรู้ความเข้าใจในแนวการพัฒนาเด็กที่เหมาะสมการสอน ไม่ยึดเด็กเป็นศูนย์กลาง และไม่มีการประเมินจากสภาพจริง (Authentic assessment) นอกจากนี้ผู้ใช้ต้องมีระบบการดำเนินการที่ดี (Organizing) เริ่มตั้งแต่การวางแผน การจัดเตรียม การลงมือปฏิบัติ การประเมินผลและการสะท้อนกลับ (Reflect) ข้อมูลเพื่อการพัฒนาคุณภาพการสอนที่ดีขึ้น ซึ่งประการหลังนี้ถือได้ว่าเป็นอีกนวัตกรรมหนึ่งที่นักการศึกษาไทยควรให้ความสนใจศึกษากลยุทธ์นี้เพิ่มขึ้น เพื่อให้ความหวังในการแก้ปัญหาวิกฤตินี้ทุเลาลงได้บ้าง แม้ว่าจะไม่หายขาดได้ทันที ก็ยังดีกว่าไม่มีการเยียวยาใดๆ 

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 14


วันนี้ได้นำเสนอเพลงและนิทานต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้นำเสนอ เพลงท้องฟ้าแสนงามในเนื้อหาของเพลงจะเกี่ยวกับท้องฟ้า ดวงตะวัน ดวงจันทร์และดวงดาว ที่มีความสวยงามไม่ว่าจะตอนกลางวัน ตอนกลางคืน ในการแต่งเนื้อเพลงจะใช้คำที่ซ้ำๆกันและคล้องจองเพื่อที่จะร้องได้ง่ายและฟังดูไพเราะ





                       เพลง ท้องฟ้าแสนงาม

             โอ้ท้องฟ้าแสนงาม       ดูสีครามสดใส
 มองเห็นดอกไม้   สวยงามจริงจริง  สวยงามจริงจริง
 เมื่อตะวันตกดิน   ตะวันตกดิน        ตะวันตกดิน
    เห็นดวงจันทร์    อยู่บนฟ้า           เห็นหมู่ดารา
           เคียงคู่พระจันทร์          เคียงคู่พระจันทร์


นิทานที่ใช้เล่าชื่อเรื่อง พระจันทร์ไม่มีเพื่อน (โดยใช้เทคนิคการเล่านิทานแบบเล่าไปตัดไป)
เนื้อหานิทาน   
        จะพูดถึงพระจันทร์ที่ต้องอยู่โดดเดี่ยวอย่างเหงาๆไม่มีเพื่อนและต้องการที่จะมีเพื่อน จึงออกค้นหาคำตอบว่าจะทำอย่างไรถึงจะมีเพื่อนบ้าง พระจันทร์เลยขับยานไปยั้งโลกมนุษย์เพื่อหาคำตอบ แต่พอมาถึงโลกมนุษย์พระจันทร์กลับต้องเจออุปสรรคมากมายกว่าจะได้พบเพื่อน ซึ่งเพื่อนของพระจันทร์คือ ปลาดาว มีเพียงแค่ปลาดาวที่เป็นเพื่อนกับพระจันทร์เท่านั้นถึงแม้มีเพียงแค่หนึ่งเดียวแต่พระจันทร์ก็ดีใจและมีความสุข


ภาพบรรยายกาศการเล่านิทาน










นิทานเรื่องนี้จึงสอนให้รู้ว่า อุปสรรคจะทำให้เจอกับเพื่อนแท้





วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 13


ก่อนเรียนอาจารย์ได้ให้นักศึกษาบอกชิ้นงานทั้งหมดที่สั่งไปว่ามีอะไรบ้าง หลังจากนั้นอาจารย์ได้สอนถึงการสร้างสื่อการเรียนรู้ทางภาษา(มุมภาษา) ว่าควรจัดให้มีหนังสือนิทาน เทปเพลง มีโต๊ะเล็กๆ  มีเบาะ ลองนั่ง หุ่นนิ้วมือ โรงละครเล็ก และมีกระดาษเล็กๆให้เขียนใส่กล่อง อีกทั้งอาจารย์ยังพูดถึงการบูรณาการให้เกิดการเรียนรู้ โดยการบูรณาการนี้จะเป็นตัวช่วยเสริม จะมีองค์ประกอบ ได้แก่ ขั้นนำ ร้องเพลง นิทาน ประสบการณ์เดิม เกม และคำคล้องจอง ซึ่งควรจัดมุมประสบการณ์ให้ถูกต้องเพื่อที่เด็กจะได้รับการพัฒนาและความรู้จากมุมประสบการณ์นี้ได้อย่างเหมาะสม